วันนี้ขณะที่ผมใกล้จะเปิดร้าน
อยู่ดีๆก็มีลูกค้าวื่งอุ้มแมวเขามาหาผมในทันที แล้วรีบเล่าอาการของแมวที่ป่วยอยู่
ผมจับใจความได้ประมาณนี้ครับ "พี่หมอคะทำไงดี
น้องแมวของหนูอยู่ดีๆก็มีอาการแบบนี้อ่ะ บลาๆๆ...............
สงสัยมันต้องเป็นโรคไตแน่ๆ น้องเค้าจะตายมั้ย คุณหมอพอช่วยเค้าได้มั้ยค่ะ
คุณหมอไม่ต้องห่วงเรื่องค่ารักษาค่ะเต็มที่เลย เพราะหนูเบิกกับแฟนได้O-o" (ประโยคสุดท้ายนับเป็นอีกเหตุการณ์หนึ่งที่หมอเป็ดเจออยู่เป็นประจำครับ555+)
อืม.......พี่เข้าใจเลยนะ เวลาที่เจ้าเหมียวของเราไม่สบาย
เจ้าของทุกคนคงรู้สึกห่วงและกังวลมาก โรคไตเป็นเป็นโรคหนึ่งที่เจ้าของสัตว์เลี้ยง
มักจะไม่ทราบว่าแมวของตนป่วยด้วยโรคนี้ เนื่องจากโรคไต มีปัจจัยที่ทำให้เกิดโรคหลายสาเหตุ(ซึ่งเดี๋ยวเราจะมาพูดกัน) แต่ส่วนใหญ่ที่พบมักเกิดจากสุขลักษณะการเลี้ยงที่ไม่ถูกต้อง
"โดยเฉพาะการให้น้ำและอาหาร" กว่าเจ้าของจะรู้ว่าตัวเองเลี้ยงผิดนั้นบางทีก็สายเกินไป
วันนี้พี่จะมาไขข้อข้องใจเกี่ยวกับโรคไตในแมว ว่าสาเหตุของโรคนี้เกิดขึ้นได้อย่างไร
อาการที่พบ ขั้นตอนในการรักษา รวมถึงวิธีป้องกันเพื่อลดความเสี่ยงการเป็นโรคนี้ ว่าแล้วลองไปดูกันเลยครับ!!
1.แล้วสาเหตุใดบ้างล่ะที่ทำให้เกิดโรคไตในแมวของเรา
โรคนี้ไม่มีสาเหตุที่แน่ชัด
แต่อาจมีหลายปัจจัยเสี่ยงมารวมกันครับ เช่น อายุเยอะเฉลี่ย 7 ปีขึ้นไป, สายพันธ์(ที่พบบ่อยคือเปอร์เซียและหิมาลายัน), การติดเชื้อเรื้อรัง, แมวที่เคยเป็นโรคนิ่วหรือเป็นโรคมะเร็งจะทำให้เป็นโรคไตได้ง่ายขึ้น,
บางครั้งอาจมาจากความผิดปกติของไตที่เป็นมาตั้งแต่เกิด หรือบางทีอาจมาจากพฤติกรรมของแมวเอง
เช่น กินน้ำน้อย ชอบเลียกินน้ำบนพื้นทีสกปรก
นอกจากนี้ เจ้าของที่เลี้ยงแมวแบบปล่อยเลี้ยงนอกบ้าน
แมวจะมีความเสี่ยงเป็นโรคไตได้มากกว่าแมวที่เลี้ยงในบ้าน เพราะอาจกินน้ำไม่สะอาดอยู่บ่อยๆเช่น
กินน้ำตามแหล่งน้ำขังทั่วไป, กินในกระถางต้นไม้ และที่อันตรายมากคือ แมวอาจได้รับสารพิษจากยาฆ่าแมลง
หรือปุ๋ย โดยเฉพาะสารเคมีประเภท"น้ำยาหล่อเย็น"(น้ำยากลุ่มAntifreez
ที่ใช้ในรถหรือเครื่องปรับอากาศ) ถ้าแมวได้รับสารนี้เข้าไปเมื่อไร
มีโอกาสทำให้เป็นโรคไตวายเฉียบพลันได้สูงมาก สิ่งเหล่านี้ที่พูดมาล้วนทำให้เนื้อไตเสียหาย
2. อาการอะไรบ้างที่เห็นแล้ว รู้เลยว่าแมวเสี่ยงเป็นโรคไต
สังเกตได้ไม่ยากครับ
ถ้าแมวเริ่มแสดงอาการเหล่านี้ แสดงว่ามีแนวโน้มเป็นโรคไตแล้ว
ให้รีบพาแมวไปหาคุณหมอเพื่อตรวจร่างกายให้เร็วที่สุด
-น้ำหนักตัวลดลงจากแมวอ้วนกลายเป็นแมวผอมในเวลาไม่นาน
-ทานอาหารได้น้อยลง กินน้ำบ่อยครั้งขึ้น
-อาเจียนบ่อยครั้งรวมถึงมีถ่ายเหลวและท้องเสีย
-น้องแมวเลียตรงบริเวณขับถ่ายบ่อยขึ้นอาจเป็นเพราะปวด
-ฉี่ไม่ลงกระบะทราย
อาจเป็นเพราะควบคุมการปัสสาวะไม่ได้
-มีกลิ่นปากและลมหายใจเหม็นมากกว่าเดิม ปากเป็นแผล
-ถ่ายอุจจาระน้อยลง มีอาการปวดเบ่ง หรือไม่ถ่ายอุจจาระนานหลายวัน
-ปัสสาวะมีเลือด หรือขุ่นมากกว่าเดิม มีอาการปวดเบ่งตอนปัสสาวะ
3.การตรวจหาสาเหตุโรคไตต้อง ทำอย่างไรบ้าง?
มีหลายวิธีเลยครับสำหรับการตรวจหาสาเหตุว่าแมวเป็นโรคไตแล้วหรือยัง
โดยหลังจากที่พาน้องแมวไปพบสัตวแพทย์แล้ว คุณหมอจะเริ่มซักประวัติ
และตรวจร่างกายเบื้องต้นว่าลักษณะทางกายภาพแมวเป็นอย่างไร ดูซูบผอม ประเมินภาวะการขาดน้ำ
ตรงนี้น้องๆต้องบอกข้อมูลให้ได้มากที่สุด เพื่อให้คุณหมอวิเคราะห์ได้ง่ายขึ้น จากนั้นคุณหมออาจขอเจาะเลือด วัดความดัน และเก็บปัสสาวะของน้องแมว เพื่อไปตรวจหาสาเหตุ อาจใช้การ
X-ray เพื่อดูขนาดของไต
กับตรวจultrasound เพื่อดูความผิดปกติบริเวณผิวเนื้อไต หรือถ้าจำเป็นจริงๆอาจต้องขอเก็บตัวอย่างชิ้นเนื้อ
เพื่อยืนยันอีกว่าความรุนแรงนั้นอยู่ในระดับไหน
4.มีวิธีรักษาแมวหายจากโรคไตได้มั๊ย
การรักษาโรคไตมีหลากหลายวิธีค่อนข้างเยอะครับแต่ส่วนใหญ่คือเน้นรักษาแบบพยุงอาการ
ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับสภาพร่างกายของน้องแมวและระดับความรุนแรงด้วย
ถ้าโชคดีพบว่าน้องแมวเพิ่งเริ่มเป็นในระยะเริ่มต้น สามารถรักษาให้หายขาดได้
เนื่องจากความเสียหายที่ไตอาจยังมีค่อนข้างน้อย แค่บำรุงด้วยวิตามิน และปรับเปลี่ยนสุขลักษณะการกิน ให้ดีขึ้น
อาจทำให้กลับมาเป็นปกติได้เหมือนเดิม แต่ถ้าเป็นโรคไตมาค่อนข้างนาน คงต้องใช้วิธีหลายๆอย่างรักษาร่วมกัน
ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับการประเมินของคุณหมอและระยะความเสียหายของไตที่น้องแมวเป็น โดยการรักษาจะมีทั้งให้ยารักษาตามอาการ วิตามินบำรุง
ให้สารน้ำ อาหารประกอบรักษาโรคไต(พวกกลุ่ม k/D) นอกจากนี้การเป็นโรคไตยังมีผลต่อระบบเลือดซึ่งอาจส่งผลเสี่ยงต่อการเป็นโลหิตจางได้
จึงต้องให้ยาบำรุงเลือดเพิ่ม แต่ถ้าพบว่าไตเสียหายหนักจริงๆอาจถึงขั้นฟอกไต
หรือผ่าเปลี่ยนตัดเปลี่ยนถ่ายไต ซึ่งมีค่าใช้จ่ายสูงมากครับ
5.การรักษาแมวที่เป็นโรคไต ถ้าให้กินแค่อาหารประกอบการรักษาโรคไตอย่างเดียวจะหายมั้ยคะ?
คำถามนี้หมอเจอบ่อยมาก ขอตอบเลยละกันว่า
การให้น้องแมวทานแค่อาหารรักษาโรคไตเพียงอย่างเดียวนั้น "ไม่เพียงพอต่อการรักษาโรคไตครับ"
เพราะการให้อาหารรักษานั้น
ความจริงแล้วเหมือนเป็นแค่การควบคุมปริมาณสารอาหารที่น้องแมวควรได้รับมากกว่า
เช่นคุมปริมาณโปรตีนและคุมระดับฟอสฟอรัสและโซเดียมไม่ให้มากเกินไป เพราะถ้ามีโปรตีนและแร่ธาตุสองชนิดนี้มากจะทำให้ไตทำงานหนัก
การรักษาทั่วไปจึงต้องให้ยาและสารน้ำเพื่อปรับระดับให้อยู่ในระดับปกติ
แต่ยังคงต้องใช้เวลาอยู่ดี
คุณหมอส่วนใหญ่จึงมักเลือกการให้อาหารรักษาเป็นวิธีเสริมมากกว่าเพื่อให้น้องแมวหายได้เร็วขึ้นครับ
และเจ้าของไม่ควรปรับเปลี่ยนจากอาหารเดิมมาทานอาหารรักษาโรคไตทันทีนะครับ
เพราะอาจทำให้เกิดผลข้างเคียงได้เหมือนกัน ยังไงควรปรึกษาสัตวแพทย์ก่อนใช้จะดีที่สุดครับ
6. การดูแลแมวหลังการรักษา ควรทำอย่างไรบ้าง
แน่นอนครับ
ที่ต้องเน้นเลยคือควบคุมเรื่องการให้อาหาร โดยเน้นให้อาหารรักษาโรคไต
พร้อมให้ทานยาที่คุณหมอให้มาอย่างเคร่งครัด ดูเรื่องความสะอาด ภายในบ้าน
และสุขอนามัยที่ดีต่อน้องแมว เช่น ดื่มน้ำที่สะอาด และนำไปตรวจเช็คร่างกาย เพื่อตรวจดูค่าไตอยู่เป็นประจำครับ
ดังที่กล่าวมาแล้วข้างต้นสำหรับโรคไตในแมวถือเป็นโรคที่รุนแรง
เพราะเป็นโรคที่ใช้เวลารักษาค่อนข้างนานและอาจเป็นอันตรายถึงชีวิต ถ้าเป็นไปได้
ควรป้องกันโรคนี้ไม่ให้เกิดขึ้น สิ่งสำคัญคือการดูแลเอาใจใส่จากเจ้าของโดยตรงในการเลี้ยงแมวตั้งแต่เริ่มต้น
และเน้นมากขึ้นในแมวสูงอายุ เจ้าของควรดูแลเรื่องสุขลักษณะการให้อาหารและน้ำที่เหมาะสม
เพราะถ้าเราให้อาหารที่มีประโยชน์และมีคุณภาพ(ทานอาหารเม็ดเป็นหลัก สูตรพรีเมี่ยมทำให้ลดโอกาสเป็นโรคไตได้เยอะเลยครับ)
บวกกับให้ทานน้ำที่สะอาดและทานบ่อยๆ(น้องแมวชอบทานน้ำเย็นและน้ำที่ไหลผ่าน
การให้น้ำพุแมวจะช่วยให้เค้ากินน้ำได้มากขึ้น)
ที่สำคัญคือต้องหมั่นพาเจ้าเหมียวไปตรวจสุขภาพอยู่เป็นประจำอย่างน้อย
1-2 ครั้งต่อปี เพื่อเป็นการป้องกันหรือหากพบความผิดปกติจะได้รีบวางแผนรักษา เพื่อสุขภาพที่ดีของน้องแมวและอยู่เป็นเพื่อนเราไปนานๆเลยครับ
หมอเป็ด เพ็ทนิสต้า
ตอนนี้แมวอยู่ในภาวะโรคไต ไม่มีค่ารักษา ไม่รู้จะทำยังไงต่อ ภาวนาขอให้รอด
ตอบลบไปหาหมอซื้ออาหารกระป๋องโรคไต นำมาผสมน้ำอุ่น เช่น น้ำหนักตัว 2.6 แมวจะให้น้ำเกลือ 150 cc หรือ น้ำ 15 สลิง สลิงละ 10 cc ซึ่งอาหารไต แมวไม่ค่อยชอบ นำมาผสมน้ำอุ่นให้เท่าน้ำเกลือ (แทนน้ำเกลือ) เพื่อไม่ต้องไปให้น้ำเกลือ ส่วนอาหารไต แบ่งเป็น 5 ส่วน ถ้าน้ำหนักตัวตามที่กล่าวมาข้างบน วิธีคือบี้อาหารให้เละมากแล้วนำน้ำเข้าไปผสม จนครบ 150 cc และแบ่งเป็น 2 ชาม เพื่อให้แมวเลียกินน้ำพร้อมกินเนื้อไปด้วย ถ้าแมวไม่อยากกิน ต้องเอาช้อนของคนตักประมาณครึ่งช้อนป้อนเขาในท่าอุ้มเด็กกำลังกินนมแม่ พร้อมเช็ดปากให้เป็นระยะ ตอนนี้แมวที่บ้านที่เป็นไต ไม่ได้ให้น้ำเกลือตั้งแต่ พค.58 จนถึงตอนนี้ (และระวังยุง อากาศหนาว เพราะเขาจะอ่อนแอกว่าแมวปกติ) เวลาให้อาหารเสร็จต้องเอาสลิงฉีดน้ำเข้ากระพุ้งแก้มเพื่อล้างปากเขา และเอาสลิงให้นำ้อีกหน่อย
ตอบลบได้ผลจริงใช่ไหมคะ ตอนนี่แมวที่บ้านก็เป็นไปให้นำ้เกลือทุกวันหมดค่ารักษาไปเยอะเลยคะ
ลบความคิดเห็นนี้ถูกผู้เขียนลบ
ตอบลบจะลบทำไม
ตอบลบจะลบทำไม
ตอบลบขอบคุณมากค่ะ สำหรับข้อมูล แมวที่บ้านเป็นโรคไตอยู่ แต่น้องแมวที่บ้านแก่มาก 17ปี แล้ว ส่วนตัวใส่เครื่องปั่นและใส่สลิงป้อน เพราะน้องแมวไม่ยอมกิน
ตอบลบ